กิจกรรม 13 - 17 ธันวาคม 2553 คะแนน 150 คะแนน

ตอบ 2.
อธิบาย  เม็ดเลือดขาวมากกว่าปกติ  คลิ กที่นี่
 ตอบ 3.
อธิบาย
หมู่เลือดและการให้เลือดที่เยื้อหุ้มเซลล์ของเม็ดเลือดแดง มีสารที่เป็นแอนติเจนแต่ในพลาสมามีสารแอนติบอดีบางชนิดและเป็นแอนติบอดีที่ ไม่ต่อต้านแอนติเจนที่ผิวเม็ดเลือดแดงของตนเอง จึงจำแนกกลุ่มเลือดของคนตามชนิดของแอนติเจนที่เยื้อหุ้มเซลล์เม็ดเลือดแดง และชนิดของแอนติบอดีในพลาสมาออกเป็นหลายระบบเช่น
1.1ระบบหมู่เลือด ABO ซึ่งแบ่งตามลักษณะของแอนติเจน(antigen) ที่ผิวเม็ดเลือดแดงได้เป็น 4 หมู่

ภาพแสดงแอนติเจนและแอนติบอดีของหมู่เลือดต่างๆ
ภาพแสดงแอนติเจน และแอนติบอดีของหมู่เลือดต่างๆ
หมู่เลือดและการให้เลือด ที่มา: หนังสือเรียนสาระการเรียนรู้เพิ่มเติมและพื้นฐานชีววิทยาเล่ม 2 , สสวท
1. เลือดหมู่ A มี Antigen A ที่ผิวเม็ดเลือดแดง และมี antibody B ในน้ำเลือด (plasma)
2. เลือดหมู่ B มี Antigen B ที่ผิวเม็ดเลือดแดง และมี antibody A ในน้ำเลือด (plasma)
3. เลือดหมู่ AB มี Antigen A และ B ที่ผิวเม็ดเลือดแดง แต่ไม่มี antibody ในน้ำเลือด
4. เลือดหมู่ O ไม่มี Antigen ที่ผิวเซลล์เม็ดเลือดแดง แต่มี antibody A และ B อยู่ในน้ำเลือด

จะเห็นได้ว่า ชนิดของแอนติเจนเป็นไปตามชื่อของหมู่เลือดและแอนติเจนกับแอนติบอดีจะเป็น ชนิดที่ตรงกันไม่ได้ เพราะจะทำให้เกิดการตกตะกอน เช่นผู้ที่มีเลือดหมู่ A จะมีแอนติบอดี A ไม่ได้ ผู้ที่มีหมู่เลือด AB จะมีแอนติบอดี A และ B ไม่ได้ ดังนั้นการถ่ายเลือดจึงต้องคำนึงถึงแอนติบอดี หลักสำคัญที่ต้องคำนึงถึงคือ แอนติเจนของผู้ให้จะตรงกับแอนติบอดีของผู้รับไม่ได้โดยเด็ดขาด แต่แอนติบอดีของผู้ให้อาจตรงกับแอนติเจนของผู้รับได้บ้าง โดยการให้เฉพาะส่วนของเม็ดเลือด หรือให้เลือดอย่างช้าๆ เพื่อให้แอนติบอดีขอผู้ให้ถูกดูดซับโดยผนังเส้นเลือดของผู้รับแต่อาจมีการตก ตะกอนมากแต่น้อยกว่า เลือดหมู่ที่เหมาะที่สุดที่ให้ผู้ป่วยคือหมู่เลือดเดียวกันกับผู้ป่วยเอง เลือดหมู่ O สามารถให้เลือดได้ทุกหมู่เนื่องจากไม่มีแอนติเจนที่ผิวเม็ดเลือดเรียกว่าผู้ ให้สากล(universal doner) ส่วนเลือดหมู่ AB สามารถรับเลือดจากเลือดหมู่ใดก็ได้เนื่องจากไม่มีแอนติบอดีในน้ำเลือดเรียก ว่าผู้รับสากล(universal recipient)
1.2หมู่เลือด Rh เป็นหมู่เลือดที่สำคัญอีกอย่างที่ต้องคำนึงถึงเวลาถ่ายเลือด หมู่เลือด Rh สามารถถ่ายทอดทางพันธุกรรมได้ด้วย คนไทยที่มีหมู่เลือด Rh เกือบร้อยละ 100 หมู่เลือด Rh พบน้อยมาก ประมาณ 1 ใน 500 คนเท่านั้น
หมู่เลือด Rh หมายถึงเลือดที่มีแอนติเจน Rh อยู่บนผิวเม็ดเลือดแดง แต่ไม่มีแอนติบอดี Rh ในน้ำเลือด
หมู่เลือด Rh หมายถึงเลือดที่ไม่มีแอนติเจน Rh ที่อยู่บนผิวเม็ดเลือดแดง และน้ำเลือดไม่มีแอนติบอดี Rh แต่สามารถสร้างแอนติบอดี Rh ได้เมื่อได้รับแอนติเจน Rh (Rh )
ดังนั้นในการให้เลือดแก่กันนั้น จะต้องคำนึงถึงปัจจัย Rh ด้วยเพราะถ้าผู้รับเลือดเป็น Rh ได้รับเลือด Rh เข้าไปในร่างกายของผู้รับก็จะถูกกระตุ้นให้ผู้รับสร้างแอนติบอดี Rh ขึ้นได้ ดังนั้นในการให้เลือด Rh ครังต่อไปแอนติบอดี Rh ในร่างกายของผู้รับจะต่อต้านกับแอนติเจนจากเลือดของผู้ให้ ทำให้เกิดอันตรายถึงชีวิตได้
การให้เลือดและการรับเลือดของคนที่มีหมู่เลือด Rh
1. คนที่มีเลือด Rh สามารถรับได้ทั้ง Rh และ Rh เพราะคนที่มีเลือด Rh ไม่สามารถสร้างแอนติบอดีได้
2. คนที่มีเลือด Rh รับเลือด Rh ครั้งแรกไม่เกิดอันตรายเพราะว่าแอนติบอดียังน้อย แต่จะเกิดอันตรายรุนแรงขึ้นเรื่อยๆในครั้งต่อไป
3. ถ้าแม่มีเลือด Rh รับเลือด Rh เมื่อมีลูก ลูกจะปลอดภัยไม่ว่าลูกจะมีเลือดเป็น Rh หรือ Rh
4. ถ้าแม่มีเลือด Rh พ่อ Rh ถ้าลูกมีเลือด Rh ลูกจะปลอดภัย แต่ถ้าลูกมีเลือด Rh ลูกจะไม่ปลอดภัยโดยเฉพาะลูกคนต่อๆไป เพราะแอนติบอดี Rh ที่อยู่ในเลือดจากการตั้งครรถ์ครั้งแรกจะเข้าสู่เลือดของเด็กและเกดิ ปฏิกิริยาขึ้นได้ ถ้าหากให้การรักษาไม่ทันเดจะตายได้ อาการที่เกิดขึ้นนี้เรียกว่า Rh(Rh disease) หรือ Erythroblastosis fetalis ซึ่งเป็นโรคโลหิตจางทำให้เด็กแรกเกิดตาย

1. เลือดหมู่ A มี Antigen A ที่ผิวเม็ดเลือดแดง และมี antibody B ในน้ำเลือด (plasma)
2. เลือดหมู่ B มี Antigen B ที่ผิวเม็ดเลือดแดง และมี antibody A ในน้ำเลือด (plasma)
3. เลือดหมู่ AB มี Antigen A และ B ที่ผิวเม็ดเลือดแดง แต่ไม่มี antibody ในน้ำเลือด
4. เลือดหมู่ O ไม่มี Antigen ที่ผิวเซลล์เม็ดเลือดแดง แต่มี antibody A และ B อยู่ในน้ำเลือด

ตอบ 2.
อธิบาย
  1. มิวเทชันที่เกิดขึ้นเอง ในธรรมชาติ  (spontaneous mutstion) อาจเกิดขึ้นเนื่องจากรังสี สารเคมี อุณหภูมิในธรรมชาติ ซึ่งสิ่งต่างๆเหล่านี้ทำให้เกิดการเปลี่ยนตำแหน่งไฮโดรเจนอะตอมในโมเลกุลของ เบส(tautomeric shift)หรือการสูญเสียไฮโดรเจนอะตอมในโมเลกุลของเบส(ionization)ทำให้การจับ คู่ของเบสผิดไปจากเดิมมีผลทำให้เกิดการแทนที่คู่เบสแบบแทรนซิชันหรือทรา สเวอร์ชัน  ทำให้รหัสพันธุกรรมเปลี่ยนไป  แต่อัตราการเกิดมิวเทชันชนิดนี้จะต่ำมากเช่น เกิดในอัตรา 10-6 หรือ10-5
  2. การมิวเทชันที่เกิดจาก การชักนำ (induced mutation) เป็นการกลายพันธุ์ที่เกิดจาก มนุษย์ใช้สิ่งก่อกลายพันธุ์(mutagen)ชักนำให้เกิดขึ้นซึ่งสิ่งก่อกลายพันธุ์ มีดังนี้
    1. สิ่งก่อกลายพันธุ์ทางกายภาพ (physical mutagen)ได้แก่ อุณหภูมิ รังสีต่างๆ รังสีสามารถแบ่งออกได้เป็น 2 ประเภท ดังนี้
      • รังสีที่ก่อให้เกิด ไอออน (ionizing radiation) รังสีประเภทนี้มีอำนาจในการทะลุทะลวงผ่านเนื้อเยื่อได้สูง ซึ่งมักจะทำให้เกิดการแตกหักของโครโมโซม  ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของโครโมโซมรังสีเหล่านี้ได้แก่  รังสีแอลฟา เบตา แกมมา นิวตรอนซ์ หรือรังสีเอ็กซ์
      • รังสีที่ไม่ก่อให้ เกิดไอออน (non ionizing radiation) รังสีประเภทนี้มีอำนาจ ในการทะลุทะลวงผ่านเนื้อเยื่อได้ต่ำมักจะทำ ให้เกิดไทมีนไดเมอร์ (thymine dimer) หรือไซโทซีนไดเมอร์(cytosine dymer) รังสีประเภทนี้ได้แก่รังสีอัลตราไวโอเลต(UV)

      ตอบ 4.
              อธิบาย ฟีโนไทป์ (Phenotype) หมายถึง ลักษณะต่าง ๆ ที่สามารถ แสดงออกมาให้เห็นได้ เป็นผลมาจาก genotype และสิ่งแวด
    ล้อม


    ตอบ 2.
    อธิบาย

    นิวคลีโอไทด์ (อังกฤษ: nucleotide) เป็นโครงสร้างพื้นฐานของกรดนิวคลีอิก ซึ่งประกอบด้วย นิวคลีโอไซด์ (neucleoside) กับหมู่ฟอสเฟต โดยนิวคลีโอไซด์ประกอบด้วยไนโตรจีนัสเบส (nitrogenous base; เรียกสั้นๆว่าเบส) กับน้ำตาลเพนโทส (มีคาร์บอน 5 โมเลกุล) ทั้งนี้เบสแบ่งตามโครงสร้างได้เป็นสองกลุ่มคือ ไพริมิดีน (โครงสร้างมี 1 วง) ได้แก่ ไซโตซีน (C) ไทมีน (T) และยูราซิล (U) และเบสไพรีน (โครงสร้างมี 2 วง) ได้แก่ อะดีนีน (A) กวานีน (G)
    ในการรวมตัวเป็นนิวคลีโอไทด์ เบสจะต่อกับคาร์บอนตัวที่ 1 ของน้ำตาลเพนโทส และฟอสเฟตต่อกับน้ำตาลตัวที่ 5 ของเพนโทส น้ำตาลเพนโทสที่พบในนิวคลีโอไทด์มีสองชนิดคือน้ำตาลไรโบสกับน้ำตาลดีออกซีไรโบ ส



















ตอบ 4.
อธิบาย ความ หมายง่าย ๆ  ของดีเอ็นเอ คือ ตัวกำหนดลักษณะต่าง ๆ ของสิ่งมีชีวิตไม่ว่าจะเป็นลักษณะที่ปรากฏออกมาเป็นรูปลักษณ์ภายนอกหรือ ลักษณะที่มองไม่เห็นซึ่งอยู่ภายใน  สิ่งมีชีวิตต่าง ๆ บนโลกนี้ไม่ว่าจะเป็นเชื้อโรค ต้นไม้ สัตว์ต่าง ๆ รวมถึงมนุษย์จะถูกกำหนดลักษณะต่าง ๆ โดยดีเอ็นเอ  ดี เอ็นเอหรือสารพันธุกรรมในร่างกายมนุษย์นั้นจะบรรจุอยู่ในแกนกลางของเซลล์ ซึ่งเปรียบเหมือนไข่แดงที่เราเห็น ๆ กันอยู่ทุกวัน สำหรับเซลล์ต่าง ๆ นั้นก็จะประกอบขึ้นเป็นอวัยวะต่าง ๆ และรวมกันเป็นร่างกายของมนุษย์ ดังนั้น ในทุกส่วนของร่างกายไม่ว่าจะเป็นเศษชิ้นเนื้อ เส้นผม ผิวหนัง เลือด น้ำเหลืองหรือน้ำลาย เป็นต้น ก็จะมีดีเอ็นเอประกอบอยู่ทั้งสิ้น ปัจจุบันการนำเอาดีเอ็นเอมาใช้ในวงการแพทย์นั้นมีความก้าวหน้าเป็นอย่างมาก รวมถึงการนำเอาดีเอ็นเอมาใช้เพื่อช่วยเหลือในกระบวนการยุติธรรมด้วย ดังคดีต่าง ๆ ในปัจจุบันซึ่งเป็นที่สนใจกันอย่างมาก ก็นำเอาวิทยาการด้านนี้เข้ามาช่วยพิสูจน์ให้แน่ชัดว่าคราบเลือดที่เกิดขึ้น เป็นของใคร เส้นผมในที่เกิดเหตุเป็นของผู้ใด เป็นต้น มีคำถามเกิดขึ้นมากมายเกี่ยวกับการตรวจพิสูจน์ดีเอ็นเอ คำถามที่ค้างคาใจหลาย ๆ คนก็คือ เชื่อถือได้แค่ไหน ปลอมได้ไหม ทำนานแค่ไหน ฯลฯ